What’s New

โพสเมื่อ : 8 มีนาคม 2021 13:05 น. หมวดหมู่: บทความ

จากสภาวะการณ์ที่ผ่านมาและปัจจุบัน

1) ทางด้านสถาบัน Maritime Strategies International (MSI) ของสหราชอาณาจักร ออกรายงานที่ระบุว่า “เนื่องจากความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเล และความหนาแน่นที่ท่าเรือ ทำให้ราคาขนส่งสินค้าทางทะเลพุ่งสูงขึ้น และความต้องการเช่าเรือสินค้า ก็เยอะกว่าปริมาณเรือที่มี ซึ่งทาง MSI คาดการณ์ว่า สถานการณ์นี้จะคงอยู่ไปถึงสิ้นปี 2021 นี้เป็นอย่างน้อย”

2) นอกจากราคาขนส่งทางทะเลที่ขึ้น 3-10 เท่าตัว อย่างที่ทราบกันแล้ว ดัชนีราคาเช่าเหมาลำยังพุ่งขึ้นสูงที่สุดในรอบทศวรรษอีกด้วย

3) ทาง MSI คาดการณ์ว่า เส้นทางส่งสินค้าจากเอเชีย ไปยุโรป และเอเชียไปสหรัฐฯ จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากตรุษจีน สืบเนื่องมาจากปริมาณสินค้าที่ค้างส่งช่วงหยุดตรุษจีน และมาตรการ ที่ประเทศต่างๆ พร้อมใจกันกระตุ้นเศรษฐกิจ

โดยการขนส่งจากเอเชียไปสหรัฐฯ ที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน และท่าเรือหนาแน่น ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการนำเข้า ส่งออก และจะทำให้ตู้สินค้า มีโอกาสกลับมาขาดแคลน

4) หากดูข้อมูลสินค้าคงคลังย้อนหลังของอุตสาหกรรมค้าปลีกในสหรัฐฯ ก็ต้องบอกว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว และปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวก็ยังต่ำอยู่กว่าสถานะปกติ

ถึงแม้ว่าตัวเลขการนำเข้า ที่ท่าเรือ Los Angeles ในสหรัฐฯ เดือนมกราคมเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 TEU ซึ่งการนำเข้าเพียง 1 เดือน เทียบเท่า การนำเข้า 60% ของ 3 เดือนแรกของปีที่แล้ว

ทาง Gene Seroka ผู้บริหารท่าเรือ ที่ LA ระบุว่าเรือที่จอดค้างอยู่กว่า 50 ลำเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 113 ปีเลยทีเดียว

5) เมื่อจะดูแนวโน้มราคาค่าระวางโดยใช้ดัชนีค่าระวางขนส่งโดยตู้คอนเทนเนอร์ของเมืองท่าสำคัญของโลก – เซี่ยงไฮ้ หากดูดัชนี Shanghai Containerized Freight Index – SCFI  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเปิดงานจากวันหยุดยาวเทศกาลตรุษจีน ก็จะพบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 50.18 จุดไปอยู่ที่ 2875.93 จุด หลังจากตกอกตกใจกับการทำดัชนีสูงสุดในรอบ 10 ปี (new high) ที่ 1938 จุด เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 ถึงตรงนี้ลืม new high เก่าไปได้เลย คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สายเรือยังคงขึ้นราคาค่าระวางตู้อยู่จนทุกวันนี้

6) ค่าระวางยังมีแนวโน้มขาขึ้น แต่หากเราไปมองตัวเลข แนวโน้มปริมาณคอนเทนเนอร์ในแต่ละท่าเรือ จาก Container Availability Index (CAx) ก็ต้องบอกว่า สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นเพราะดัชนีปริมาณตู้ที่ท่าเรือ ก็ยังเพิ่มขึ้นที่ท่าเรือต่างๆ (แต่บางท่าเรือมันเพิ่มเพราะตู้มันมาเยอะเกินนะ ขนย้ายไม่ทัน วุ่นไปอีกแบบ) โดยสรุป 5 ท่าสำคัญ

  • Bangkok: CAx ตู้20’ = 0.82 และ CAx ตู้40’ = 0.87 (แนวโน้มเพิ่มขึ้น)
  • Laem Chabang: CAx ตู้20’ = 0.75 และ  CAx ตู้40’ = 0.77 (แนวโน้มเพิ่มขึ้น)
  • Long Beach California: CAx ตู้20’  0.94 และ CAx ตู้40’ = 0.93 (ตู้ค้างเยอะมาก สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น)
  • Shanghai: CAx ตู้20’ = 0.58 และ CAx ตู้40’ = 0.55 (ตู้กลับไปที่จีนเยอะพอสมควร จากเดิมอยู่ในระดับ 0.25 แต่สินค้าขาออกจากจีนชะงักไปในช่วงตรุษจีน จึงมีตู้ขาเข้าจีนอย่างเดียว ทำให้สถาการณ์ดีขึ้นเล็กน้อย)
  • Kobe: CAx ตู้20’ = 0.81 และ CAx ตู้40’ = 0.87 (แนวโน้มเพิ่มขึ้น)

การดูตัวเลข Container Availability Index หรือ CAx นั้นให้ใช้สมดุลย์อยู่ที่ 0.50 หมายถึงว่าปริมาณความต้องการใช้ตู้ กับปริมาณตู้ที่มีอยู่พร้อมใช้จริงมันเท่ากันเป๊ะ (ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยในทุก ๆ สถาการณ์) แต่ถ้าหากตัวเลข CAx ที่น้อยกว่า 0.50 คือ ตู้น้อยกว่าความต้องการที่ท่าเรือถ้าสูงกว่า 0.50 แปลว่าตู้มีมากกว่าความต้องการ ดังนั้นจะเป็นได้ว่าทั้ง 5 ท่านั้นยังคงพอมีปริมาณตู้รองรับความต้องการได้อยู่ ไม่ถึงกับขาดแคลนไปเลย แต่คงต้องเอาปริมาณตู้ที่คุณภาพไม่สมประกอบมาหักลบด้วย เพราะการทำตัวเลขดัชนีไม่มีตัวเลขปริมาณตู้ที่มีสภาพไม่พร้อมใช้มาอ้างอิงด้วย

7) สำหรับสถานการณ์หน้างาน ส่งออกจากเอเชีย ไปที่ต่างๆ ในโลก

- จีน: space ยังหายากสำหรับเรือที่ไป Transit ที่ท่าเรือ Singapore, Busan, Shekou, Ningbo, Shanghai โดยท่าเรือที่หนาแน่นก็คือ Ningbo และ Shanghai โดยรถบรรทุกหัวลากยังเป็นปัญหาในจีน

- เอเชีย: ตู้สินค้า (ที่คุณภาพดีๆ) ก็ยังมีความขาดแคลนใน จีน เวียดนาม และไทย และท่าเรือในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดียใต้ ก็หนาแน่น ผู้นำเข้าส่งออก ควรเผื่อใจอาจเจอดีเลย์ 5-7 วัน

- โอเชียเนีย (ออสเตรเลีย): ไม่ต้องสงสัยว่าตู้เปล่าหายไปไหน ส่วนหนึ่งวิ่งไปที่ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ประจวบเหมาะกับช่วงจังหวะปิดประเทศพอดี โดยสินค้าที่จะส่งออกไปโซนนี้ ลำบากหน่อยช่วงนี้

- อเมริกาใต้: โซนนี้ค่อนข้างหนัก เนื่องจากการระบาดของโควิด ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทำให้ราคาเฟรทเพิ่มขึ้นยาวๆ ไปถึงไตรมาสที่ 4 ปีนี้แน่นอน

8) สำหรับการนำเข้า จากโซนต่างๆ มาเอเชีย

- นำเข้าจากยุโรป: เรือส่วนใหญ่ถูกจองเต็มไปถึงเดือน มีนาคมแล้ว ใครที่จะนำเข้าปริมาณมากๆ ก็เหนื่อยหน่อย ต้องวางแผนดีๆ จะจองสายเรือพิจารณาจองล่วงหน้า 5-6 สัปดาห์

- นำเข้าจากสหรัฐฯ: แย่น้อยกว่ายุโรป แต่ก็ควรจองล่วงหน้า 3-4 สัปดาห์

9) สถานการณ์ขนส่งทางอากาศ ยังแพงเหมือนเดิม คงต้องรอฟังข่าวสายการบินผู้โดยสารเชิงพาณิชย์กลับมาบินอีกครั้งหนึ่ง

10) อย่างที่บอกว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาดี ทั้ง ปริมาณการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับจากเดือน กรกฎาคม 2020 และตัวเลขอัตราว่างงาน โดยหลาย ๆ ธุรกิจก็อยากที่จะเพิ่มสินค้าคงคลังตัวเองให้เร็วที่สุด ไม่แน่ใจว่า สั่งไปสั่งมา อาจจะเจอปัญหาสินค้าคงคลังล้นสต็อกกันไหม ก็ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด...

เครดิต .. เวป ZUPPORTS


บทความที่เกี่ยวข้อง

INCO term 2020 ตอนที่ 7
INCO term 2020 ตอนที่ 7

เพื่อให้ง่ายต่อการเทียบเคียงข้อมูลสำหรับ INCO term 2010 ว่าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ข...

22 มิถุนายน 2021
อ่านเพิ่มเติม
INCO term 2020 ตอนที่ 6
INCO term 2020 ตอนที่ 6

เมื่อ INCO term 2010 กำหนดให้มี term ขึ้นมาใช้ใหม่ คือ DAP และ DAT ซึ่งหมายรวมถึ...

14 พฤษภาคม 2021
อ่านเพิ่มเติม
INCO term 2020 ตอนที่ 5
INCO term 2020 ตอนที่ 5

จากที่เคยกล่าวไว้ว่า นับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา หอการค้าระหว่างประเทศ ICC ประกา...

26 เมษายน 2021
อ่านเพิ่มเติม