INCO term 2020 ตอนที่ 5

โพสเมื่อ : 26 เมษายน 2021 10:45 น. หมวดหมู่: บทความ

จากที่เคยกล่าวไว้ว่า นับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา หอการค้าระหว่างประเทศ ICC ประกาศให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยน INCO term เป็นรูปแบบใหม่ทุก ๆ 10 ปี แม้ว่าขณะนั้นมีการใช้ INCO term 2000 ที่ผู้เขียนมีความเห็นส่วนตัวว่าเป็น INCO term ที่ดีที่สุดเท่าทีเคยมีมา แต่ในเมื่อ ICC มีความต้องการอย่างนั้น คณะทำงานในส่วนนี้ก็ต้องทำตาม นั่นคือ แก้ไขเปลี่ยนแปลง INCO term ใหม่ให้เป็น INCO term 2010 และใช้แทน INCO term 2000

 

ท้งนี้ทางคณะทำงานของหอการค้าระหว่างประเทศ หรือ ICC ให้เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงเป็น INCO term 2010 ไว้ 3 ข้อด้วยกันดังนี้

  1. การค้าโลกมีการพัฒนาขึ้นในแง่ของ
  • มีการจัดตั้งเขตเสรีทางการค้า หรือ free zone ในแต่ละประเทศ
  • มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการเลือกใช้การขนส่ง และ
  • เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง
  1. เพื่อเป็นการกระชับให้ทันยุคสมัย
  2. เพื่อให้นิยามในแต่ละ term ได้ถูกต้องตาม
  • เนื้องานที่ต้องกระทำต่อสินค้านั้น ๆ
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกระกระทำการนั้น ๆ และ
  • ความเสี่ยงภัยที่มีต่อสินค้านั้น ๆ

 

ดังนั้น INCO term 2010 จึงเน้นที่เรื่องวิธีการขนส่งสินค้า เฉพาะการขนส่งหลักระหว่างประเทศ ไม่ใช่การขนส่งต่อเนื่องภายในประเทศผู้ส่งออกหรือนำเข้า โดยแยก INCO term ไว้เป็นเพียง 2 categories และตัดเหลือเพียง 11 terms เท่านั้น แต่ละ category ก็ยึดวิธีการขนส่งเป็นหลัก

 

ทั้ง 2 categories นี้ได้แก่

Category 1 – ว่าด้วยการขนส่งรูปแบบใดก็ตาม ประกอบด้วย 7 terms ดังนี้

  • CIP – Carriage and Insurance Paid to มีความหมายเดียวกับ INCO term 2000
  • CPT – Carriage Paid To มีความหมายเดียวกับ INCO term 2000
  • DAP – Deliver At Place หมายถึงราคาสินค้ารวมถึงค่าขนส่งต่อเนื่องไปถึงสถานที่ที่กำหนด
  • DAT – Deliver At Terminal หมายถึงราคาสินค้ารวมถึงค่าขนส่งต่อเนื่องไปถึงสถานี หรือโรงพักสินค้าที่เป็น terminal ที่กำหนด
  • DDP – Delivery Duty Paid มีความหมายเดียวกับ INCO term 2000
  • EXW – Ex Work มีความหมายเดียวกับ INCO term 2000
  • FCA – Free Carriage มีความหมายเดียวกับ INCO term 2000

 

Category 2 – ว่าด้วยการขนส่งทางเรือ เท่านั้น หมายรวมถึงการขนส่งต่อเนื่องที่ใช้ทางน้ำ ณ. ประเทศปลายทาง ประกอบด้วย 4 terms ดังนี้

  • CFR – Cost and Freight มีความหมายเดียวกับ INCO term 2000
  • CIF – Cost + Insurance + Freight มีความหมายเดียวกับ INCO term 2000
  • FAS – Free Along Shipside มีความหมายเดียวกันกับ INCO term 2000
  • FOB – Free On Board มีความหมายเดียวกันกับ INCO term 2000

 

จะเห็นว่ามีบาง term หายไป ในขณะที่มีบาง term เพิ่มขึ้นมา ไปดูกันว่า มี term ไหนหายไป และ term ไหนเพิ่มขึ้นมาบ้างเพราะเหตุผลกลใด

 

Term ที่หายไปคือ DAF DES DEQ และ DDU โดยมีเหตุผลคือ

  • DAF จะใช้เฉพาะกับขนส่งทางรถเป็นส่วนใหญ่ และแต่ก่อนประเทศที่ใช้ term นี้คือประเทศทางยุโรปที่มีชายแดนติดกัน แต่กลับไม่ค่อยได้มีการใช้จริง เพราะการรวมตัวเป็นประเทศในกลุ่ม EU อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้การขนส่งข้ามแดนเป็นไปได้อย่างสะดวกจึงไม่มีความจำเป็นต้องหยุดรถไว้ที่ชายแดนเพื่อขนถ่ายกันอีกต่อไป
  • DES เห็นว่าเป็นการซ้ำซ้อน เพราะทันทีที่เรือถึงท่าปลายทางก็จำเป็นต้องยกขนลงจากเรืออยู่ดี คงไม่มีใครปล่อยให้ของค้างอยู่บนเรือเพราะเรือต้องเดินทางต่อ เมื่อก่อนคงกำหนด term นี้มาเฉพาะสินค้าที่มีขนาด น้ำหนัก เกินกว่าที่จะให้อุปกรณ์ของเรือหรือของท่าเรือยกขน ผู้นำเข้าอาจต้องจัดหาเครื่องมือหนักมาเพื่อยกขนเองโดยรับต้นทุนค่ายกขนไปเอง ซึ่งต่อมากรณีนี้เกิดขึ้นน้อยมากหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย เพราะการรับสินค้าตั้งแต่ต้นทางย่อมต้องรู้ถึงข้อจำกัดนี้มาล่วงหน้าแล้ว จึงต้องมีการเสนอราคาค่ายกขนรวมไว้ในค่าระวางแล้ว และไปใช้ term CFR ได้ปกติ จึงควรยกเลิก
  • DEQ ต่อเนื่องจาก DES เห็นว่าเมื่อของถึงท่าปลายทางแล้ว ผู้นำเข้าต้องดำเนินการนำของออกจากเขตท่าเรืออยู่ดี ทำไมจึงต้องไปคิดราคาค่าใช้จ่ายการขนระยะสั้น ๆ จากในท่าออกไปนอกเขตท่าเรือ และเท่าที่ปฏิบัติมานับ 10 ปี มีเพียงบังคลาเทศประเทศเดียวเท่านั้นที่มี term DES ใช้กัน แต่เขาให้รวมค่า terminal handling charge (THC) ที่ปลายทางเข้าไว้ในค่าระวาง และเมื่อของถึงท่าปลายทางในบังคลาเทศ ก็เอาของออกจากเขตท่าได้เลย ไม่ต้องไปเสียค่า THC ให้กับการท่าอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงควรยกเลิก
  • DDU เกิดการถกถียงในเชิงปฏิบัติว่า การเคลียร์สินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรนั้น ค่าใช้จ่ายในการเคลียร์สินค้านั้น รวมอยู่ใน term DDU นี้หรือเปล่า ซึ่งโดยทฤษฎีแล้ว ไม่รวม.. หมายถึงผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านพิธีการศุลกากรเอง ผู้รับขนมีหน้าที่เพียงขนส่งให้ถึงผู้รับเท่านั้น แต่บางที่ บางประเทศ (ซึ่งมีมากเสียด้วย) ยังเข้าใจว่า กว่าจะเอาสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรมาเพื่อส่งได้ ก็ต้องประกอบพิธีการอยู่แล้ว น่าจะต้องรู้ความจริงข้อนี้อยู่ แต่เพื่อตัดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ก็ให้ยกเลิกเสียและกำหนด term ใหม่มาใช้แทน

โดย term ใหม่ที่เพิ่มเข้ามา มี 2 terms ได้แก่

  • DAP – Deliver At Place หมายถึงราคาค่าสินค้ารวมถึงการส่งของไปยังสถานที่ที่กำหนด
  • DAT – Deliver At Terminal หมายถึงราคาสินค้ารวมถึงการส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าที่กำหนด

 

แล้วอะไรจะเป็นตัวกำหนดว่าอย่างไหนเรียกว่า “สถานที่” (place) อย่างไหนถึงเรียกว่า “คลังสินค้า” (terminal) คงต้องลงรายละเดียดในตอนหน้า


บทความที่เกี่ยวข้อง

INCO term 2020 ตอนที่ 7
INCO term 2020 ตอนที่ 7

เพื่อให้ง่ายต่อการเทียบเคียงข้อมูลสำหรับ INCO term 2010 ว่าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ข...

22 มิถุนายน 2021
อ่านเพิ่มเติม
INCO term 2020 ตอนที่ 6
INCO term 2020 ตอนที่ 6

เมื่อ INCO term 2010 กำหนดให้มี term ขึ้นมาใช้ใหม่ คือ DAP และ DAT ซึ่งหมายรวมถึ...

14 พฤษภาคม 2021
อ่านเพิ่มเติม
INCO term 2020 ตอนที่ 5
INCO term 2020 ตอนที่ 5

จากที่เคยกล่าวไว้ว่า นับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา หอการค้าระหว่างประเทศ ICC ประกา...

26 เมษายน 2021
อ่านเพิ่มเติม