โลจิสติกส์ 2021 พัฒนาเพื่อเติบโตต่อเนื่อง หลังจากผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมมาช็อปออนไลน์มากขึ้น 

โพสเมื่อ : 8 มีนาคม 2021 14:33 น. หมวดหมู่: บทความ

โลจิสติกส์ 2021 พัฒนาเพื่อเติบโตต่อเนื่อง

หลังจากผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมมาช็อปออนไลน์มากขึ้น 

 

ปี 2020 เป็นอีกปีที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่ว่าจะจากธุรกิจ เศรษฐกิจ แนวทางต่าง ๆ เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ทำให้ “พฤติกรรมการซื้อสินค้า” ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่มีการเปลี่ยน เนื่องจากต้องมีการ Social Distancing รักษาระยะห่างในการใช้ชีวิตมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ยังถือว่ามีโอกาสในวิกฤติ สำหรับ “ธุรกิจขนส่ง” ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางรถยนต์ การขนส่งทางเรือ และการขนส่งที่มีความรวดเร็วในการขนส่ง อย่าง ขนส่งทางอากาศ (Air Frieght) ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความสะดวกในการซื้อขาย และการขยายธุรกิจมากกว่า 

 

โดยมูลค่าตลาดขนส่งพัสดุของไทย พบว่าตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมานั้น ธุรกิจขนส่งพัสดุมีแนวโน้มแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น ผลมาจากการเข้ามาแย่งชิง Market Share จากผู้ประกอบการหน้าใหม่ 

 

นอกจากนี้ยังต้องต่อสู้ผู้บริการขนส่งรายเก่า ที่มีการพัฒนาบริการให้มีความรวดเร็วในการจัดส่งมากยิ่งขึ้น อย่างบริการส่งพัสดุด่วนตลอด 24 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เช่น การส่งได้แค่เฉพาะในกรุงเทพหรือปริมณฑลเท่านั้น รวมทั้งยังมีค่าบริการที่สูงกว่าแบบการส่งแบบปกติ 

 

ปรับตัวเรื่องบริการแล้ว ยังต้องมีคุณภาพและมีความปลอดภัยในการจัดส่งที่ดีกว่าเดิม เพราะเนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคหันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น มูลค่าสินค้าในการซื้อแต่ละครั้งก็อาจจะสูงขึ้น เพราะ E-Commerce สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกระดับมากขึ้น 

 

เช่น สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องสำอาง รวมทั้งสินค้าแบรนด์เนม Luxury Class ต่าง ๆ ก็เริ่มกระโดดเข้ามาในตลาด E-Commerce มากขึ้น เนื่องจากการจัดส่งสามารถเช็คสถานะการจัดส่งได้ตลอดเวลา รวมทั้งผู้ประกอบการโลจิสติกส์มีการพัฒนาแพล็ตฟอร์มในการตรวจสอบสินค้าให้ทันสมัย ลดความกังวลในการขนส่งของทั้งผู้ส่งและผู้รับไปได้มากขึ้น

 

การปรับตัวยังถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ ธุรกิจโลจิสติกส์ก็เช่นกัน นอกจากจะต้องพัฒนาการบริการให้มีมาตรฐานแล้ว การพัฒนาในส่วนอื่นก็เป็นสิ่งที่ต้องลงทุน อย่างการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง เพื่อจะจะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งในการบริการและบริหารจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างศูนย์คัดแยกพัสดุ ที่มีเทคโนโลยีในการคัดแยกพัสดุที่ดีขึ้น สามารถคัดแยกได้เร็วขึ้น รวมถึงเครื่องสแกนพัสดุที่ฉลาดมากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งได้ดีกว่าเดิม

 

แน่นอนว่าเมื่อเทคโนโลยีขยับตัว การพัฒนาบุคลากรก็ต้องขยับตาม ความต้องการบุคลากรในด้านโลจิสติกส์ก็มีสูงขึ้นด้วย ในอนาคตตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะตำแหน่งพนักงานขับรถ พนักงานคลังสินค้า ฯ ซึ่งพนักงานเหล่านี้ก็ต้องมีการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อรองรับการเติบโตในวงการโลจิสติกส์ต่อไป

 

ทั้งนี้ในอนาคตของธุรกิจโลจิสติกส์ยังต้องมีการปรับตัวอีกมากมายในอนาคต เพื่อรองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ชทั้งในและนอกประเทศ ประกอบการควรมีการอัพเดทความรู้ กระแส เทรนด์ ต่าง ๆ ให้ทันต่อสถานการณ์ในอนาคต เพื่อให้ธุรกิจพร้อมรับมือในทุกอย่างในอนาคตให้ได้

 

ที่มา : รายงานบทวิเคราะห์ เซคชัน “Industry Review” เรื่อง “TRANSPORT & LOGISTICS 2020” ของ SCB Economic Intelligence Center โดย ดร.กมลมาลย์ แจ้งล้อม นักวิเคราะห์อาวุโส และ ปุญญภพ ตันติปิฎก นักวิเคราะห์ ประจำ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

 


บทความที่เกี่ยวข้อง

INCO term 2020 ตอนที่ 7
INCO term 2020 ตอนที่ 7

เพื่อให้ง่ายต่อการเทียบเคียงข้อมูลสำหรับ INCO term 2010 ว่าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ข...

22 มิถุนายน 2021
อ่านเพิ่มเติม
INCO term 2020 ตอนที่ 6
INCO term 2020 ตอนที่ 6

เมื่อ INCO term 2010 กำหนดให้มี term ขึ้นมาใช้ใหม่ คือ DAP และ DAT ซึ่งหมายรวมถึ...

14 พฤษภาคม 2021
อ่านเพิ่มเติม
INCO term 2020 ตอนที่ 5
INCO term 2020 ตอนที่ 5

จากที่เคยกล่าวไว้ว่า นับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา หอการค้าระหว่างประเทศ ICC ประกา...

26 เมษายน 2021
อ่านเพิ่มเติม